ประเพณี และความเชื่อเกี่ยวกับการไหว้รถ
นานมาแล้วคนไทยเรานั้น มักนิยมแขวนพวงมาลัยไว้ที่หน้ารถเพื่อเป็นเคล็ดราง ให้ทำมาค้าขึ้น โดยเฉพาะเมื่อจะออกรถยนต์ใหม่ พวงมาลัยจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ แล้วที่มาที่ไปของธรรมเนียนนี้เป็นอย่างไร วันนี้ทีมงานแออมินมาลินมาลัยได้ไปหาเอา บทความเกี่ยวกับเรื่อองนี้มาฝาก มิตรรักพวงมาลัย ทุกท่านค่ะ
ความเชื่อเรื่อง แม่ย่านาง
คนไทยแต่โบราณมีความเชื่อเรื่อง แม่ย่านาง ที่คอยช่วยปกป้องคุ้มครองการเดินทาง ซึ่งปกติมักจะเป็นการเดินทางทางเรือ แต่ต่อมาเมื่อการสัญจรทางน้ำลดลง คนเราหันมาเดินทางทางบกแทน โดยมีรถยนต์เป็นพาหนะทำให้ความเชื่อในเรื่องของ “แม่ย่านาง” ก็ยังคงถูกถ่ายทอดอยู่คู่กับสังคมไทยเสมอ เพราะฉะนั้นทุกปีคนขับรถหรือผู้ที่มีรถจึงต้องทำการไหว้แม่ย่านางรถเป็นประจำ เพื่อให้แม่ย่านางคุ้มครองให้เราแคล้วคลาดปลอดภัย มีโชคลาภเงินทองและเสริมดวงชะตาให้เจ้าของรถคันนั้นเอง
แม่ย่านางคือใคร ?
มาลินมาลัย ขอสรุปให้ก่อนที่จะไปอ่านเรื่องตำนานที่มาของ แม่ย่านาง ว่า แม่ย่านางก็คือ เจ้าแม่ทับทิม นั้นเอง เทวดาหรือเซียนของจีนนั้นเอง แอดมินเองก็ไปอ่านมาจากอินเทอเนตหลายๆเว็บก็เหมือนจะเขียนลอกๆกันมา แต่เนื้อหาใกล้เคียงกัน แต่ก็พอสรุปสั้นๆพอให้ได้ทราบที่มาที่ไป พอได้เห็นเหตุการณ์ (แต่ตอนจบก็ยังแอบ งง อยู่) เรื่องมีอยู่ว่า
พระอิศวร และพระแม่อุมา (เทพอิเดีย) ไปท่องเที่ยวทะเล ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก กุ้ง (สัตว์กุ้งที่อยู๋ในน้ำ ที่เรากินกันนี่แหล่ะ) กุ้งร้องเรียนว่าตัวกุ้งมีเพียงเปลือกบ้างๆไม่สามารถ่อสู้ป้องกันตัวได้ จึงถูกสัตว์น้ำอื่นจับกินอย่างง่ายได้ ไม่ยุติธรรม พระอิศวรและพระแม่อุมา ได้ฟังแล้วก็ประทานพรให้ กุ้ง มีหอกแหลมคม 2 ด้านบนหัวและปลายหาง แต่มีข้อแม่ว่ากุ้งต้องกินแต่ของที่ตายแล้วเท่านั้น กุ้งก็ตกลง เมื่อกุ้งได้รับพรดังนั้น สัวต์น้ำอื่นก็จับกุ้งกินได้ยากขึ้น จนทำให้ ประชากรกุ้งมีเยอะจนเสียความสมดุล
ต่อมา กั้ง ชวนกุ้งผสมพันธ์ และหลอกล่อให้ กุ้งไปเจาะเรือสำเภาโดยใช้หอกแหลมที่หัว เมื่อเรือล้มคนตกน้ำตาย กั๊งและกุ้งก็จะแบ่งกันกิน (โหดมาก กุ้งกินคน) เป็นเหตุให้การเดินเรือในทะเลนั้นอันตรายมาก เพราะกุ้งมีเยอะและคอยเจาะเรือให้ล่มอยู่เป็นนิจนางสำเภาจึงได้ ของร้อง เจ้าหมาจ่อ คนไทยสมัยอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์เรียกตามเสียงจีน ฮกเกี้ยนว่า พระหมาจ่อ หรือ หมาจอ (จีนกลางว่า มาจู่ แต้จิ๋วว่า มาโจ้ว) เจ้าหมาจ่อได้รับคำร้องก็เห็นใจ จึงบอกให้นำของมาเซ่นไหว้พลีกรรม ได้แก่ ผ้าแพรสีแดง สีทับทิม สิ่งละสิบพับ กับดอกไม้ธูปเทียน สำหรับเจ้าที่ เมื่อเจ้าหมาจ่อได้รับของถวายแล้ว เจ้าหมาจ่อจึงให้นายทหารนำของไปถวายเจ้าทั้งแปดทิศ แล้วร่วมปรึกษาหารือกันว่าจะนำความไปกราบทูลพระอิศวรและพระแม่อุมาเทวีให้ ตัดสินปัญหา
พระแม่อุมาจึงสั่งให้พระอนันตนาคราชไปปราบกุ้งที่ผิดคำสัตย์และใช้อุบายทำให้ มนุษย์เดือดร้อน จากนั้นพระอนันตนาคราช (น่าจะเทวดาไทย) รับโองการ ลงไปถึงพระคงคา กุ้งที่ทำผิดก็ร้อนตัวกลัวจนกระเพาะและลำไส้ ของเก่าใหม่ (ขี้) ขึ้นมาบนสมอง จากนั้นจึงถูกสาปให้เรือสำเภาน้อยใหญ่ที่พวกตนเจาะให้ล่มเข้าไปอยู่ในแก้ม ซ้ายขวา ถ่วงหัวไม่ให้เงยขึ้นมาเจาะเรือสำเภาได้อีก แล้วพระอนันตนาคราชจึงสั่งให้จีนเดินสมุทรทั้งหลายนับถือ เจ้ายอดสวรรค์ ให้คุ้มครองรักษาเรือสำเภาทุกเที่ยวไปมาจนติดมากระทั่งทุกวันนี้
จากเรื่องราวนี้ เราพอสรุปได้ว่า แม่ย่านางคือ เจ้าแม่ทับทิม เทวดาหญิงของจีน บ้างก็ว่าจากฮกเกี๋ยน บ้างก็ว่าจากไหหลำ แต่ที่แน่ๆคือมาจากจีน เพราะคนจีนนิยมทำการค้า และต้องอาศัยการเดินทางค้าขาในทะเล ตามประวัติแล้ว เจ้าแม่ทับทิม หรือ เทพมาจู่ หรือ เจ้าหมาจ่อ เป็นเทพนารีสำคัญองค์หนึ่งของจีน เป็นเทวีแห่งทะเลองค์แรก นอกจากเป็นเทพแห่งการเดินเรือและเทพประจำอาชีพประมงแล้ว ยังมีฤทธานุภาพในด้านอื่นอีกแม้กระทั่งการรบ ในอดีตการออกทะเลไม่ว่าเพื่อเดินทางหรือทำกิจกรรมใดล้วนต้องเสี่ยงภัยสูง (ดังมีสำนวนในภาษาไทยว่า “คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล”) คนจีนจึงเซ่นไหว้พระแม่มาจู่เป็นเทพผู้คุ้มครองการออกทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินทางไกล เดิมทีเป็นเทพของจีนฮกเกี้ยนก่อน จึงกลายเป็นเทพผู้คุ้มครองและที่พึ่งทางใจที่สำคัญยิ่งของคนจีนชายทะเลและคนจีนโพ้นทะเลทั่วโลก
จบไปเรื่องที่ว่าแม่ย่านางคือใคร ที่เป็นที่มาของการประเพณีการไหว้แม่ย่านาง ซึ่งเราๆท่านๆจะคุ้นหูกับคำว่าแม่ย่านางเรือ ซึ่งก็เป็นการรับขนบธรรมเนียมแบบจีนนั้นเอง จากแม่ย่านางเรือ ที่มักนิยมทำพิธีเซ่นไหว้กันในหมู่ชาวประมง และพ่อค้าเดินเรือสมุทธ ก็เป็นวัฒนธรรมที่แพร่เข้ามายังประเทศแม้แต่ ราชสำนักของไทย ก็มีการบวงสรวงแม่ย่านางเรือ โดยเฉพาะเรือพระราชพิธีที่ใช้ในการพระราชพิธีที่สำคัญ เช่น กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ก่อนออกแล่นเรือจริงต้องมีการนำเครื่องบูชามาทำพิธีบวงสรวงเพื่อความเป็นสิริมงคล เข้าใจว่าเพื่อบอกกล่าวแม่ย่านางที่สิงสถิตอยู่กับเรือแต่ละลำได้รับรู้และ ปกปักรักษาอย่าให้เกิดอุบัติเหตุเภทภัยใดๆ
เรือชาวบ้านก็มีการบวงสรวงเช่นกัน ผู้ที่มีความศรัทธามาก นิยมนำผ้าสามสีมาผูกที่หัวเรือ เพื่อแสดงความเคารพแก่แม่ย่านางและเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่เรือนั้นๆ
ด้วยเหตุนี้ แม่ย่านาง จึงได้กลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเทพ ผู้พิทักษ์ปกป้องคุ้มครอง พาหนะทุกประเภท ทั้งเรือ รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ ที่ให้คุณให้โทษได้ ผู้ขับขี่จึงมีความเคารพยำเกรงต่อแม่ย่านาง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย
เราจะไหว้แม่ย่านางอย่างไร ?
ให้เตรียมของไหว้แม่ย่านางรถ
1. ผลไม้ 5 อย่าง โดยต้องมีกล้วยน้ำว้าสุก 2 หวี ส่วนผลไม้อื่นอีก 4 อย่างจะเป็นอะไรก็ได้ (นิยมใช้มะพร้าว ส้ม แอปเปิ้ล ฯลฯ)
2. ข้าวสวย 1 ถ้วย
3. น้ำสะอาด 1 แก้ว
4. หมาก พลู และยาเส้น 3 คำ
5. ยาสูบ 3 มวน
ไหว้แม่ย่านางรถ วันและเวลาไหนดี ?
การไหว้แม่ย่านางรถตามธรรมเนียมโบราณมักไหว้ในช่วงสงกรานต์ ส่วนรถใหญ่ รถทัวร์ หรือรถบรรทุกมักไหว้ปีละ 2 ครั้ง ปัจจุบันนิยมใช้ “ฤกษ์สะดวก” หรือก็คือฤกษ์ที่เจ้าของรถสะดวกที่สุด ส่วนเวลาไหว้แม่ย่านางรถควรไหว้ในตอนเช้า เริ่มจากจัดโต๊ะไหว้ที่หน้ารถ สตาร์ทรถ จากนั้นบีบแตร 3 ครั้งเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย หลังจากนั้นเตรียมไหว้ด้วยการจุดธูป 9 ดอกแล้วจึงกล่าว คำถวายของแม่ย่านางรถ
บทสวดถวายของไหว้แม่ย่านางรถ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ…สวด 3 จบ
สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ทุติยัมปิ สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ตะติยัม สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ….
ลูกขอถวายสิ่งของเหล่านี้แก่แม่ย่านางรถ ขอท่านจงรับซึ่งสิ่งของเหล่านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ลูกทั้งหลายเทอญ สาธุ…
หลังจากจบบทสามารถกล่าวอธิษฐาน ขอพรให้ประสบแต่สิ่งดี ๆ มีสิริมงคลในชีวิต แคล้วคลาดปลอดภัย หลังกล่าวจบรอประมาณ 20 นาที แล้วจึงจุดยาสูบ 3 มวนให้เจ้าที่ จากนั้นรออีกประมาณ 3 นาทีจึงกล่าวคำลา
คำลาของไหว้แม่ย่านางรถ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ….สวด 3 จบ
พุทธังลา ธัมมังลา สังฆังลา
ข้าพเจ้าขอลาสิ่งของเหล่านี้เพื่อให้เป็นทานต่อไป เป็นยารักษาโรค อย่าให้เกิดโทษเลย
นะ เสสัง มังคะลา ยาจามะ
หลังกล่าวคำลาของไหว้แม่ย่านางแล้ว ผลไม้ต่าง ๆ สามารถนำมาแจกกันกินเพื่อความเป็นสิริมงคลได้ นิยมแจกเพื่อนบ้าน ญาติ เด็ก ๆ ในบ้าน หรือคนในครอบครัว
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่มาลินมาลัยได้รวบรวมมากจากสื่อบนอินเตอเน็ตหลายแห่ง และนำมาบอกกล่าวเล่าให้ฟัง และเป็นความเชื่อที่ปฎิบัติสืบทอดมานาน ผู้ที่มีความศรัทธาเชื่อมั่น มักได้รับความร่มเย็นเป็นสุข มีโชคลาภตามแรงศรัทธาของตน
หากบทความนี้มีข้อผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง ผู้เขียนกราบขออภัยไว้ ณ ทีนี้ หากมีผู้รู้ท่านใดจะแจ้งให้รับทราบก้ไข มาลินมาลัยก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อเขียนเกี่ยวกับเรื่องและที่มาของประเพณีการไหว้รถ ไหว้แม่ย่านาง ก็อดนึกถึงเพลง แม่ย่านาง ของวงกระท้อน ไม่ได้ ที่มักได้ยินเป็นประจำในงานเทศกาลรื่นเริง โดยเฉพาะการแข่งเรือยาว เราไปฟังเพลงนี้กัน