gtag('config', 'G-H86HS66SSQ'); gtag('config', 'AW-405607341');

พวงมาลัยนาค

ร้านดอกไม้ดอนเจดีย์

พวงมาลัยนาค

พวงมาลัยนาค หรือ มาลัยนาค ก็คือพวงมาลัยดอกไม้แบบ  2 ชายนั้นเอง ที่เรียกชื่อเป็นมาลัยนาคก็เพราะว่าเป็นการเรียกตาม จุดประสงค์การใช้งาน หรือใช้ในงานบวชนาค หรือ พิธีอุปสมบทนั้นเอง

หากจะกล่าวโดยทั่วไปแล้ว พวงมาลัยดอกไม้ นั้นถ้าแบ่งออกอย่างง่ายที่สุดก็คือ มาลัยชายเดียว และ มาลัย 2 ชาย ตามลักษณะที่เรามักจะพบเห็นได้ง่ายโดยทั่วไปและมีความคุ้นเคยกันเป็นปกติ หาซื้อได้ง่าย ทั้งตามตลาดสด หรือแม้กระทั่งแยกไฟแดงต่างๆ

  1. พวงมาลัยชายเดียว คือ มาลัยที่มีลักษณะเป็นพวงกลม มีอุบะห้อยเป็นชายเพียงพวงเดียว ซึ่งโดยทั่วไปมักนิยมเรียกว่า มาลัยมือ มาลัยข้อมือ มาลัยคล้องแขน มาลัยชายเดียวนี้มักใช้สำหลับคล้องแขน คล้องข้อมือ บูชาพระ กราบไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่ ขอพร ขอขมาลาโทษ ฯลฯ
  2. มาลัยสองชาย คือ มาลัยที่นิยมผูกต่อริบบิ้นหรือโบว์ มีปลายห้อยทั้งสองด้าน และมีอุบะห้อยชายมาลัย ทั้งสองพวงมาลัยสองชายนี้ ใช้สำหรับคล้องคอบุคคลสำคัญในงานนั้น ๆ ใช้แขวนหน้ารถหรือหัวเรือก็ได้ บางคนอาจเรียกมาลัยชนิดนี้ว่า มาลัยคล้องคอ ถ้าใช้คล้องคอเจ้าบ่าว เจ้าสาว ก็เรียกว่า มาลัยบ่าว-สาว ถ้าใช้ในงานบวชพระ บวชนาคก้เรียกกันว่า มาลัยนาค

พวงมาลัยนาค พวงมาลัยงานบวช เป็นสินค้าชิ้นหนึ่งที่ร้านมาลินมาลัย ร้านดอกไม้ สุพรรณบุรีมีไว้ให้บริการสำหรับ ลูกค้าที่มีหมายกำหนดบวชลูกบวชหลาน สืบสานประเพณีไทย สืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นธรรมทายาทของพระศาสดา ด้วยเหตุนี่ในบทความนี้ มาลินมาลัยจะขอกล่าวถึง พิธีการบวชนาค ประเพณีการบวชนาค โดยคราวๆพอสังเขป เพื่อเป็นการเผยแผ่ และบันถึกไว้เป็นภูมิความความรู้ ประหนึ่ง รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกห้าม สะสมเป็นความรู้รอบตัว หากแม้ต่อไปจะมีประโยชน์สำหรับผู้ค้นหา หรือ ต้องการความรู้ในการประกอบพิธีการบวช เพื่อการใดก็ตาม จะบวชลูกบวชหลาน หรือจะบวชด้วยตนเอง ทางร้านมาลินมาลัย และทีมงาน แอดมิน ขออนุโมทนาในกุศลที่จะเกิดขึ้นกับท่านและครอบครัวด้วยทุกประการ

ร้านดอกไม้ มาลินมาลัย ร้านดอกไม้ ดอนเจดี สุพรรณบุรี โทร 088 907 9996
สามารถเลือกแบบและลายจากมาล้ยข้อมือได้  แบบมาลัยข้อมือ

ร้านดอกไม้ สุพรรณบุรี บวชพระ มาลัยนาค

ที่มาของการออกบวช

บวช มาจากคำว่า ปะ วะ ชะ แปลว่า การงดเว้น งดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น
การบวช ถ้าเป็นการบวชเณร เรียกว่า บรรพชา ถ้าเป็นการบวชพระ เรียกว่า อุปสมบท

การดำรงชีวิตในสังคมนั้น ของคนเรานั้น มักต้องพอเจอแต่เรื่องราวความวุ่นวาย มีเรื่องให้กลัดกลุ่ม เป็นทุกข์เป็นร้อนใจอยู่เนื่องๆ ตัวความถือตน ตัวกู ของกู มีเรา มีเขา มีการเปรียบเทียบ โอ้อวด อยู่เป็นนิจ มีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงเข้ามากระทบทบจิตใจอย่างต่อเนื่อง ไม่จนสามารถจะปล่อยวางให้เกิดความสงบสุขในจิตใจ และค้นหาความเข้าใจ และสัจธรรมของชีวิตได้ จึงมักมีผู้แสวงหาความหมายของชีวิตได้ปลีกตัวออกจากสังคม ออกไปอยู่ท่ามกลางป่าเขา ในที่ห่างไกลเพื่อจะได้มีความสงบ คิด พิจารณา แสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิต จึงได้เกิดวิถีแห่งการออกบวชเกิดขึ้น เรียกว่า เป็นผู้ละเว้น งดเว้นจากกิจบ้านการเรือนมาบำเพ็ญกิจเพื่อพระศาสนา เช่นการสวดมนต์ ภาวนา เป็นต้น

แม้พระพุทธองค์ครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธถัตถะ ก็ทรงออกผนวช (ออกบวช) ปลีกวิเวก เช่นกัน เพื่อแสวงหาความรู้แจ้ง ออกไปอยู่ตามป่าเขา บำเพ็ญวิริยะอุสาหะจนค้นพบความรู้แจ้ง ตรัสรู้เป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และนำความรู้แจ้ง (ธรรมะ) นั้นเผยแผ่สู่หมู่ชน เมื่อหมู่ชนเหล่านั้น เห็นด้วย และเข้าใจในหลักแห่งธรรมะของพระพุทธองค์ ว่าเป็นหลักแห่งความดีที่สามารถพัฒนาชีวิตให้เกิดความสุขที่แท้จริงได้ ก็เกิดความเลื่อมใส เข้ามาขอปฎิบัติ ติดตามพระพทธองค์โดยสละซึ่งทางโลก สละกิจบ้านงานเรือนของตนไว้เบื้องหลัง การเป็นการออกบวช ในพระพุทธศาสนา และเมื่อมีผู้เลื่อมใสศรัทธามากขึ้น พระพุทธองค์ จึงกำหนดระเบียบแบบแผนสำหรับการบวชโดยเฉพาะขึ้นมา

ประเพณีการบวชของไทย

สืบเนื่องจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศานาของคนไทยที่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย และยึดถือเอาเป็นศาสนาประจำชาติ คนไทยแต่เดิมจึงมักนับถือศาสนาพุทธโดยการสืบทอดเป็นประเพณีสืบเรื่อยมา แม้ในปัจจุบันมีการรับและนับถือศาสนาอื่นมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าศาสนาพุทธอยู่มาก โดยแต่เดิมศูนย์รวมของชุมชนไทยในเรื่องต่างๆ จะอยู่ที่วัดทั้งหมด เรียกว่าวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียน เขียนอ่านสำหรับชาวบ้าน ต้องอาศัยเรียนจากการบวชเรียนที่วัด ไม่ว่าจะบวช บรรพชาเป็นสามเณร หรือ อุปสมบท เป็นพระภิกษุ การบวชของชายไทยแต่ก่อนจึงเรียกได้ว่า ได้ความรู้ด้านศิลปะศาสตร์ คือ อ่าน ออก เขียนได้ และ ได้รับความรู็ความเข้าในในหลักธรรมเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ใช้หลักธรรมนำพาชีวิตไปสู่ทางที่ดี ที่เหมาะที่ควร หลังจากลาสิกขาออกไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่จะเป็นหัวหน้าครวบครัว หรือแต่งงานออกเหย้าออกเรือน ต้องผ่านการบวชเรียนเสียก่อนจึงเป็นที่ยอมรับของครอบครัวฝ่ายหญิง จึงเป็นที่มาของคำว่า บวชก่อนเบียดนั้นเอง

นอกจากนี้แล้วประโยชน์อีกประการนึง ของการบวช ที่สืบทอดกันมาจนเป็นประเพณี เรียกว่าการบวชแทนคุณบิดามารดา หากจะเปรียบเทียบให้ชัดแล้วนั้น จะเป็นการบวชแทนคุณมารดาเสียมากกว่า เหตุเพราะ เพศหญิง หรือ แม่ของผู้บวช ไม่สามารถบวชเป็นภิกษุได้ นึกนิยมให้ลูกชายทำการบวชแทนเพื่อสร้างบุญบารมี ผู้เป็นแม่หากมีลูกชายก็ย่อมเฝ้าฟูมฟัก หวังจะได้บวชลูก เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ เป็นความสุขทางใจในส่วนของผู้เป็นแม่ และเกิดกุศลผลบุญแก่ผู้บวชในการสร้างความปิติสุขให้แก่มารดา เลยแรียกว่าบวชแทนค่าน้ำนม เป็นต้น ส่วนการแทนคุณผู้เป็นพ่อ ก็สำคัญเช่นกัน แต่ความหนักแน่นจะออกไปทางผู้เป็นแม่เสียเสียมากกว่า และโดยมากมักจะได้เคยบวชเรียนเป็นพระภิกษุมาก่อนอยู่แล้ว

สรุปรวมประโยชน์ของการออกบวช ทั้งการบรรพชาสามเณร และ อุปสมบทพระภิกษุ

  1. การทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนชายไทย หมายความว่า พุทธศาสนิกชนจะช่วยดำรงรักษาพระพุทธศาสนาโดยรักษาพระธรรมวินัยให้เจริญมั่นคง เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา และคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าให้ดำรงคงอยู่ถ้วน 5000 ปี และการสืบทอดพระศาสนาและพระธรรมคำสั่งสอนที่ดี ที่สุดก็คือการบวชเป็นพระภิษุ สามเณร เพื่อศึกษาพระธรรมของพระพุทธองค์โดยตรงนั้นเอง
  2. การทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย หมายความว่า เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในสังคมไทย และได้กลายเป็นมรดกของชนชาติไทย เป็นทรัพย์สมบัติที่มีค่าสูงสุดของประเทศชาติและสังคม พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี การศึกษา ดนตรีและศิลปะต่าง ๆ ก็มาจากวัดวาอาราม เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว ก็ให้หลักธรรมคำสอน ทำให้คนประพฤติดีประพฤติชอบเป็นหลักให้แก่สังคม ทำให้สังคมอยู่กันได้ด้วยสันติสุขพระพุทธศาสนาได้ช่วยให้คนมากมายกลายเป็นคนมีหลักคิด สามารถประคองชีวิตให้ถูกต้องได้ ผู้มีหลักธรรมก็ย่อมส่งเสริม กุลบุตร กุลธิดา ให้เข้าใจในหลักธรรม เป็นต้น
  3. เป็นการสนองพระคุณบิดามารดา ดังที่ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครได้บวชลูกแล้ว ก็ได้บุญกุศลมาก ช่วยให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ ตลอดจนได้เป็นญาติของพระศาสนา แต่ถ้ามองความหมายให้ลึกซึ้งลงไปก็เป็นเรื่องความเป็นจริงของชีวิตจิตใจ กล่าวคือ การบวชเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจของพ่อแม่มีความสุข มีความปลาบปลื้มใจ ด้วยความหวังว่าเมื่อลูกได้เข้าไปอยู่ในวัด ได้ศึกษาอบรมในพระธรรมวินัยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นคนดี จะรับผิดชอบชีวิตของตนเองได้ จะรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมได้ แล้วเกิดความมั่นใจ พ่อแม่ก็จะมีความสุขเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อลูกบวช ก็เท่ากับจูงพ่อแม่เข้ามาสู่พระศาสนาด้วย มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้เรียนรู้ธรรมะ ทำให้ได้ใกล้ชิดพระศาสนา เรียกว่าเป็นญาติของพระศาสนาอย่างแท้จริง
  4. เป็นการพัฒนาตนเอง คือการพัฒนาชีวิตทั้งในด้านความประพฤติ คือพฤติกรรมทางกาย วาจา และด้านจิตใจที่มีความดีงาม เข้มแข็ง มั่นคง เป็นสุข และในด้านปัญญาคือความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง

วิธีการบวช

  • เอหิภิกขุอุปสัมปทา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานอุปสมบทเอง

กล่าวคือในสมัยพุทธกาล เมื่อทรงประกาศพระศาสนา ไปยังหมู่ชน ทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเข้ามา ขอให้พระพุทธองค์ประทานการบวชให้ด้วยพระองค์เอง

  • ติสรณคมนูปสัมปทา พระพุทธสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็สามารถบวชให้แก่กุลบุตรผู้เลื่อมใส ศรัทรา ในพระพุทธศาสนาได้

กล่าวคือ ครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงส่งพระพุทธสาวกออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองต่างๆ เมื่อเกิดมีผู้เสื่อมใสศรัทธาขออกบวช แต่พระพุทธสาวกไม่อาจจะบวชให้ได้ จึงต้องพากุลบุตรเหล่านั้นเดินทางร่อนแรมกลับมาหาพระพุทธองค์เพื่อให้ประทานการบวชให้ พระองค์จึงทรงอนุญาติให้พระพุทธสาวกดำเนินการบวชให้แก่กุลบุตรผู้ศรัทธราได้โดยวิธีการรับไตรสรณะคมน์

  • ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา วิธีการอุปสมบทโดยสงฆ์

กล่าว คือ เป็นการบวชโดยการประกาศของคณะสงฆ์ (คณะสงฆ์ คือ พระภิกษุ 4 รูปขึ้นไป) เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์บวชให้แก่กุลบุตร โดยให้ผู้นั้นบวชเป็น สามเณร ก่อน แล้วให้ขออุปสมบท จากนั้นพระกรรมวาจาจารย์สวดประกาศ ว่าสงฆ์จะรับ กุลบุตรผู้นั้นเป็นภิกษุหรือไม่ เมื่อสงฆ์ยังนิ่งอยู่ก็จะ สวดประกาศย้ำอีก 3 ครั้ง ถ้าไม่มีภิกษุรูปใด หรือ บุคคลใดใครคัดค้านก็เป็นการเสร็จพิธี เมื่อทรงอนุญาตการบวชแบบ ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาแล้ว ก็ทรงเลิกการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา และติสรณคมนูปสัมปทาเสีย แต่ทรงอนุญาตให้ใช้วิธี ติสรณคมนูปสัมปทา นี้บวชสามเณร ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

เตรียมความพร้อมเข้ารับการบวช

  • คุณสมบัติผู้รับการอุปสมบท
  • บุคคลต้องห้ามบวชโดย เด็ดขาด
  • บุคคลห้ามมิใช้บวช
  • หน้าที่ของผู้รับการอุปสมบท
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการบวช
  • เครื่องแต่งกายนาค

ขั้นตอน ประเพณีการอุปสมบท

  • หาฤกษ์ยาม
  • การลาญาติผู้ใหญ่
  • การปลงผม อาบน้ำนาค
  • การทำขวัญนาค
  • การนำนาคเข้าโบสถ์
  • เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท

พุทธพิธี บรรพชาอุปสมบท

  • นาค กล่าวคำวันทาพระประธาน
  • นาค กล่าวคำขอบรรพชาเป็น สามเณร
  • สามเณร ซ้อมขานนาค กับพระคู่สวด
  • พระสงฆ์สวด อันตรายิกธรรม
  • สามเณร เข้าไปขอ อุปสมบท กับ พระอุปัชฌาย์
  • พระสงฆ์สวด อันตรายิกธรรม ซ้ำ 3 รอบ
  • พระอุปัชฌาย์ ให้โอวาท
  • เสร็จพิธี

ใส่ความเห็น